ท่องเที่ยวเขื่อนทั่วไทยกับ...ทัวร์ดอย.คอม

 

ข้อมูลเขื่อนทั่วไทย

เขื่อนภาคเหนือ

เขื่อนภูมิพล

เขื่อนสิริกิตต์

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่กวง

เขื่อนกิ่วลม

เขื่อนแจ้ห่ม

เขื่อนแม่จาง

เขื่อนภาคกลาง

เขื่อนแก่งกระจาน

เขื่อนปราณบุรี

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนจุฬาลงกรณ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนทับเสลา

เขื่อนแม่วง

เขื่อนคลองโพธิ์

เขื่อนคลองขุง

เขื่อนลำตะคอง

เขื่อนลำพระเพลิง

เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขื่อนอุบลรัตน์

เขื่อนจุฬาภรณ์

เขื่อนพรมธารา

เขื่อนน้ำอูน

เขื่อนห้วยหลวง

เขื่อนน้ำพุง

เขื่อนลำปาว

เขื่อนสิรินธร

เขื่อนราษีไศล

เขื่อนภาคใต้

เขื่อนบางลาง

เขื่อนรัชชประภา

 

 

เขื่อนแก่งกระจาน

คลิกเพื่อขยาย

 

สถานที่ตั้ง : อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะเขื่อน  เป็นเขื่อนดิน สูง 58 เมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร  นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนดินปิดเขาต่ำทางขวางเขื่อนอีก 2 แห่ง คือ แห่งแรกสูง 36 เมตร สันเขื่อนยาว 305 เมตร แห่งที่ 2 สูง 24 เมตร สันเขื่อนยาว 255 เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น  มีความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 46.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,325 ไร่ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 929 ล้านลูกบาศก์เมตร  บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ในด้านการชลประทานบริเวณที่ราบ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เขื่อนแก่งกระจานสร้างกั้นแม่น้ำเพชร ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวก กับตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำของเขื่อนเพชรขึ้นไป 27 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2504    แล้วเสร็จ พ.ศ. 2509  ต่อมา เมื่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจานขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าไดั เมื่อเดือนสิงหาคม 2517 น้ำที่ถูกปล่อยเพื่อการชลประทานได้ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ภาพถ่ายบริเวณสันเขื่อน จุดปล่อยน้ำ

 

ประโยชน์

ด้านการชลประทาน สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย

ด้านการประมง เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเขื่อนแก่งกระจานเป็นจำนวนมาก กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจคือการล่องเรือชมวิวบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ไปกางเต็นท์พักแรมบนเกาะต่างๆ ไปตกปลา และไปพักแรมบริเวณริมเขื่อน

ด้านพลังงาน เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเต็มไปด้วยเกาะแก่ง

การเดินทาง เขื่อนแก่งกระจานอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53.5 กิโลเมตร การเดินทางสามารถไปได้ 2 ทาง คือไปทางอำเภอท่ายาง เดินทางต่อไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงเขื่อนหรือไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 186-187 จะมีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร
Photo Gallery  เขื่อนแก่งกระจาน
   

Copyright © 2005 Tourdoi.com All Rights Reserved.