ทัวร์

ทัวร์

ฟิล์มถ่ายภาพ

 

ฟิล์ม... มีมากมายหลายชนิดหลายขนาดให้เลือกใช้ตามประเภทของกล้องนั้นๆ ฟิล์มสำหรับกล้อง SLR เป็นฟิล์มขนาด 135 มม. บรรจุอยู่ในกักฟิล์มมีจำนวน 24 และ 36 ภาพ ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม

ฟิล์มแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

ฟิล์มเนกกาตีฟขาว-ดำ   ภาพที่ได้จากการอัดภาพจากฟิล์มจะเป็นขาว-ดำ ความนิยมค่อนข้างน้อยลงไปในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีนักถ่ายภาพผู้อนุรักษ์ให้ความสนใจถ่ายภาพขาวดำเก็บไว้ ซึ่งสามารถเก็บไว้ดูได้ทนนาน ดูอย่างภาพเก่าๆ ในอดีตที่เราเคยได้เห็นจากหนังสือ จากนิทันศการภาพถ่าย ถึงแม้เวลาของภาพนั้นจะผ่านมานานแสนนาน แต่สีก็ยังคมชัด ตรงข้ามกับภาพสีที่เวลาผ่านไปไม่นานภาพจะมีสีเหลืองหรือสีซีดลงไป ค่าอัดล้างภาพขาวดำค่อนข้างแพงเพราะจำนวนผู้ใช้เหลือน้อยมาก

ฟิล์มเนกกาตีฟสี    เป็นฟิล์มถ่ายภาพที่เราใช้กันทั่วไป ภาพที่ได้จากการอัดจากฟิล์มชนิดนี้จะเป็นภาพสี ส่วนภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มจะเป็นสีตรงกันข้าม เราจึงเรียกฟิล์มชนิดนี้ว่า ฟิล์มสีเนกกาตีฟ ค่าล้างอัดภาพฟิล์มชนิดนี้มีราคาต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เพราะว่ามีใช้กันอย่างแพร่หลาย ต้นทุนจึงถูก ค่าอัดภาพขนาด 4 x 7 นิ้วเพียง 3-5.5 บาทแตกต่างกันแล้วแต่ร้านและคุณภาพของกระดาษที่ใช้ ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆ ไปที่ต้องการอัดล้างภาพออกมาดูกันเป็นอัลบั๊ม

 
ตัวอย่างภาพที่ปรากฎบนฟิล์มสี  และ ภาพที่ได้จากการอัดลงบนกระดาษอัดภาพ

ฟิล์มสไลด์สี   ต่างจากฟิล์มเนกกาตีฟสี   คือภาพที่ปรากฏบนแผ่นฟิล์มชนิดนี้เป็นภาพสีเหมือนจริง เราสามารถส่งองฟิล์มไปยังพื้นที่ที่สว่างเพื่อชมภาพได้โดยตรง ฟิล์มชนิดนี้ทำความคมชัดสูงที่สุดเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการพิมพ์หรือการขยายใหญ่ และเพื่อการใช้สำหรับการนำเสนอภาพโดยเครื่องฉายสไลด์และถ่ายเก็บไว้ดูนานๆ โดยที่สีไม่เปลี่ยนแปลง ต่างกับฟิล์มสีที่คุณภาพของฟิล์มและภาพที่อัดไว้ลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาฟิล์มแพงกว่าฟิล์มสีแต่ค่าล้างถูกกว่า สรุปแล้วราคาต่อภาพพอๆ กัน ฟิล์มชนิดนี้ให้ความคมชัดสูง ความถูกต้องของสีสูงมาก ภาพที่ถ่ายจากฟิล์มสไลด์สามารถนำไปอัดเป็นภาพสีได้แต่ค่าอัดค่อนข้างมีราคาสูงมาก ภาพสีขนาด 4 x 7 นิ้ว ราคาภาพละ 15-25 บาท ( แล้วแต่แล๊ป ) ดังนั้นฟิล์มสไลด์จึงเหมาะสำหรับการถ่ายไว้เพื่อนำเสนอโดยเครื่องฉายสไลด์หรือเพื่อการพิมพ์ไม่เหมาะกับการอัดล้างมาเป็นภาพสีเพราะสิ้นเปลืองมาก

  
ตัวอย่างภาพที่ปรากฎบนฟิล์มสไลด์ถ่าย

การถ่ายภาพด้วยฟิล์มสไลด์ต้องระวังการวัดแสง เพราะฟิล์มสไลด์มีค่าความผิดพลาดของแสงต่ำหากวัดแสงผิดไปเพียง ½ stop ก็สามารถสังเกตเห็นถึงความแตกต่างแล้ว หากผิดไปสัก 1 stop ย่อมทำให้คุณภาพของภาพที่ได้ผิดเพี้ยนไป ต่างกับฟิล์มเนกกาตีฟสีที่วัดแสงผิดไป 1 stop ภาพที่ได้ยังแทบมองไม่เห็นค่าความแตกต่าง

ความไวแสงฟิล์ม
ฟิล์มแต่ละชนิดที่ผลิตมามีความไวแสงที่แตกต่างกันให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละงาน ความไว้แสงของฟิล์มบอกเป็นค่า ISO เช่น ISO50, ISO100, ISO200, ISO400, ISO800, ISO1000 , ISO1600 ตัวเลขที่มีค่าต่ำๆ เป็นฟิล์มที่มีความไว้แสงต่ำต้องใช้เวลาในการรับแสงที่ยาวนานกว่า ตัวเลขที่สูงๆ เป็นฟิล์มที่มีความไว้แสงสูง ใช้ช่วงเวลาในการรับแสงสั้นกว่า ฟิล์มความไว้แสงสูงๆ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยเช่น ถ่ายภาพในงานพิธีที่ห้ามใช้แฟชท หรือกรณีแอบซูมถ่ายภาพสาวที่โป๊ๆ ตามคอนโดหรือหอพัก ถ้าหากใช้แฟชทหล่อนก็จะรู้ว่าเราแอบถ่ายแล้วก็แจ้งตำรวจจับ

 

ฟิล์มที่มีความไวแสงไม่สูงมากนักเช่น ISO 200 เหมาะสำหรับการถ่ายในงานวิธีที่ใช้แฟชท ค่า ISO ที่เพิ่มขึ้นทำให้ขนาดรูรับแสงลดลงไป 1stop มีผลทำให้ความชัดลึกของภาพมีมากขึ้น

บางคนคิดว่าความไวแสงของฟิล์มที่สูงขึ้นยิ่งเป็นผลดีสำหรับการถ่ายภาพแล้วยิ่งราคาของฟิล์ม ISO 200 มีราคาสูงกว่า ISO 200 เพียง 5 บาท ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจทีจะเลือกซื้อฟิล์มที่มีค่าความไว้แสงฟิล์มที่สูงกว่า แต่ก่อนที่จะเลือกขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่าคุณสมบัติที่เราต้องการได้จากฟิล์มคือ ความคมชัดหรือความละเอียดของภาพ ฟิล์มยิ่งมีค่าความไวแสงยิ่งต่ำความคมชัดยิ่งสูง ความไว้แสงยิ่งสูงๆ จะมีความคมชัดหรือความละเอียดของภาพลดลง เช่น ISO 1600 เกรนของภาพจะหยาบมากเหมือนกันเม็ดทราย ยิ่งถ้าเรานำไปอัดขยายใหญ่จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ดังนั้นจงขอให้พิจารณาก่อนว่าเราต้องการความไว้แสงที่สูงกว่าไปเพื่ออะไร ถ้าใช้สำหรับถ่ายที่แสงน้อยและต้องใช้แฟชทก็โอเคแต่ถ้าใช้สำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยวทั่วไปที่มีแสงสว่างเหลือเฟือ เลือกความไวที่ต่ำที่สุดเท่าที่มีขายในตลาดจะดีที่สุดนั่นก็คือ ISO 100 ประหยัดเงินและได้ความคมชัดความละเอียดของภาพที่เพิ่มขึ้น ( ISO 50 สำหรับสไลด์ )