ขนาดรูรับแสง
ขนาดรูรับแสงจะมีผลต่อความชัดลึกของภาพ
รูรับแสงที่กว้างจะมีความชัดลึกน้อยแต่บริเวณจุดโฟกัสจะมีความความชัดสูงมาก
รูรับแสงแคบๆ
จะมีความชัดลึกกว้างแต่ความชัดที่จุดโฟกัสจะคมชัดน้อยกว่าหน้ากล้องที่กว้างๆ
ภาพแสดงความชัดลึกของภาพเมื่อขนาดหน้ากล้องต่างกัน
ระยะชัดจะอยู่ในช่วงสีน้ำเงิน
ความคมชัดสูงที่สุดที่จุดโฟกัส
และจะลดลงเมื่อห่างออกไป
เมื่อพ้นระยะชัดภาพก็จะเบลอร์
รูรับแสงกว้างๆ
ความชัดลึกน้อย จะมีผลทำให้สิ่งต่างๆ
ที่อยู่นอกระยะชัดไม่มีความชัดหรือภาพเบลอร์
เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ต้องการความโดดเด่นของวัตถุที่ต้องการถ่าย
เช่น ถ่ายภาพนางแบบ
ที่ต้องการเน้นจุดสนใจอยู่หน้าของนางแบบ
ไม่ให้เห็นความคมชัดของหน้าคนอื่นที่สวยกว่านางแบบที่อยู่ข้างหลัง
หรือไม่ต้องการให้ Background
โดดเด่นกว่าจุดโฟกัส หรือดอกไม้ที่ต้องการเน้นเฉพาะจุดที่ต้องการถ่าย
ภาพนี้ถ่ายด้วย
f 5.6 จะเห็นว่าจุดโฟกัสมีความคมชัดสูง
ไกลออกไปเพียงเล็กน้อยภาพจะเบลอร์
รูรับแสงแคบๆ
ความชัดลึกกว้าง
จะมีผลทำให้สิ่งที่อยู่นอกระยะโฟกัสมีความคมชัดไปด้วย
เหมาะสำหรับถ่ายภาพวิวส์ทิวทัศน์ที่ต้องการความคมชัดของภาพโดยรวมสูง
ภาพเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความแตกต่างของขนาดรูรับแสงกับความชัดลึก
ไกลออกไปยังพอชัด
ภาพซ้าย f
5.6 บริเวณด้านหน้าของภาพหรือที่จุดโฟกัสจะค่อนข้างจะชัดกว่า
ไกลๆ ออกภาพจะเบลอร์
ภาพขวา f
8 บริเวณจุดโฟกัสชัดพอประมาณ
ไกลๆ
ออกไปยังพอดูออกว่าเป็นดอกไม้ดอกกลมๆ
แต่ความชัดโดยรวมจะมากกว่า
ช่างภาพทั่วๆ
ไปมักจะไม่ใช้คำว่า รูรับแสง
แต่มักจะเรียกว่า หน้ากล้อง
เช่นตอนนี้ใช้หน้ากล้องเท่าไร
สปีด เท่าไร หน้ากล้อง คือ
ขนาดรูรับแสง สปีด คือ ความเร็วชัตเตอร์
การที่จะเลือกใช้หน้ากล้องเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ถ่าย
หากต้องการให้ภาพชัดทั่วทั้งภาพก็ต้องใช้หน้ากล้องแคบๆ
เหมือนกับการถ่ายภาพวิวส์ทิวทัศน์
แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถที่จะใช้ขนาดหน้ากล้องที่แคบมากๆ
ได้เพราะสภาพแสงไม่เอื้ออำนวย
หากเราลดขนาดหน้ากล้องลงจนแคบมาก
แสงก็จะเข้ากล้องได้น้อยเราจึงต้องลดสปีดลง
บางครั้งลดลงจนต่ำกว่าความเร็วที่เราถ่ายภาพได้ด้วยมือ
ดังนั้นจึงต้องใช้ขาตั้งกล้อง
แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า
วัตถุที่เราต้องการจะถ่ายจะต้องหยุดนิ่ง
ถ้าหากถ่ายต้นไม้ดอกไม้ที่เคลื่อนไหวไปมาตลอดเวลาเพราะแรงลม
ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น
มีผลทำให้ขนาดหน้ากล้องต้องปรับเพิ่มขึ้นตามจนไม่แคบเท่าที่ใจเราต้องการ
|