ฝ้าเป็นอย่างไร...
ฝ้าที่ผิวเลนส์นะไม่ใช่ฝ้าที่หน้าช่างภาพ
ฝ้ามีลักษณะเป็นฟิล์มขาวๆ
บนผิวเลนส์เมื่อเราลองส่องเลนซ์ดูจะเห็นว่าชิ้นแก้วของเลนส์ไม่ใสปิ๊งเท่าที่ควรคือจะมีฝ้าขาวๆ
เคลือบอยู่ถ้าฝ้าเกิดที่ผิวนอกของเลนส์ก็ไม่มีปัญหามากเท่าไรใช้น้ำยาเช็ดเลนส์เช็ดทำความสะอาดก็ออกหมดแล้ว
แต่ถ้าเกิดกับผิวด้านในเราไม่สามารถเช็ดได้
ทำให้เลนส์เสียคุณสมบัติทางการถ่ายภาพไป
ฝ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร
มีหลายสาเหตุล้วนเกิดจากกรรมวิธีการผลิตเกี่ยวกับสารเคลือบชิ้นเลนส
์จะพบฝ้าเกิดกับเลนส์บางยี่ห้อมากเป็นพิเศษ
ส่วนที่เกิดจากการใช้งานค่อนข้างน้อยและยังเกิดได้จากการที่เก็บไว้ในกระเป๋าเป็นเวลานานโดยไม่ได้ใช้งานอีกด้วย
เมื่อไม่ได้ถ่ายภาพเป็นเวลานานก็ควรจะเอาออกมาส่องมองฟ้าดูนกดูเมฆให้เลนซ์มีแสงแดดส่องผ่านบ้างให้เลนส์ได้ทำงาน
เป็นฝ้าแล้วจะทำอย่างไร
ขายทิ้งไปเลยดีกว่าแล้วเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ไปเลยหรือไม่ก็ต้องทนใช้ไป
หรือส่งล้างตามร้านล้างเลนส์
คุณภาพที่ได้จะลดลงแน่นอนเพราะสารเคลือบผิวเลนส์ถูกทำลายขณะล้างหรือต้มชิ้นเลนส์
นี่ยังไม่รวมปัญหาที่ช่างประกอบคืนสภาพไม่ดี
สรุปแล้วจะทำอย่างไร
ก่อนซื้อกล้องลองหาข้อมูลดูก่อนว่าเลนส์ยี่ห้อเดียวกับกล้องมีปัญหาเรื่องฝ้ามากน้อยเพียงไร
มีน่า..ยี่ห้อดีลองหาข้อมูลดู
เมื่อซื้อเลนส์มาแล้วก็ต้องเก็บไว้ในที่ๆ
มีความชื่นน้อยๆ
หรือใส่สารดูดความชื้นไว้ในถุงเก็บเลนส์
ถ้าเกิดฝ้าเพียงเล็กน้อยก็รีบหาทางขายทิ้งไปซะก่อนที่จะมีอาการหนักจนให้ใครก็ไม่มีใครเอา
ปัญหาเรื่องฝ้าจะพบได้ไม่บ่อยนัก
ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยและสร้างความปวดหัวให้เจ้าของคือ
รา
ราเป็นอย่างไร....
รามีลักษณะเป็นเส้นสีขาวแตกแขนงเหมือนรากไม้หรือประการังพัด
ตอนเริ่มเกิดราจะเป็นจุดเล็กๆ
ตรงกลางของจุดจะมีสีทึบ
ส่วนรอบๆ จะมีสีขาวจางๆ
ยังมองไม่เห็นแตกแขนงเมื่อปล่อยไว้นานๆ
จะเริ่มเกิดแขนงลุกลามไปทั่วผิวเลนส์โดยมีจุดกำเหนิดเป็นจุดศูนย์กลาง
เส้นแขนงจะแผ่ออกรอบจุด
ถ้ายังปล่อยทิ้งไว้ต่อไปแขนงดังกล่าวก็จะแผ่ไปจนเต็มหน้าเลนส์
ถ้ายังคงทิ้งไว้ต่อไปก็จะเห็นเหมือนรอยแตกลายงาของชามสังคโลก
ถ้าเก็บไว้ต่อไป...ไม่ต้องเก็บแล้วโยนทิ้งไปเลยดีกว่าขืนเก็บไว้เห็นทีไรอดช้ำใจไม่ได้
แต่ถ้าเสียดายไม่ทิ้งก็เก็บไว้ลองถอดออกมาดูเล่นว่าภายในมันเป็นอย่างไร
ราเกิดขึ้นได้อย่างไร...
เลนส์ซูม, เลนส์ไวด์,
เลนส์ตาปลา
ล้วนเรียกว่าเลนส์ทั้งนั้น
เลนส์ประกอบด้วยชิ้นกระจกผิวโค้งหลายชิ้นประกอบอยู่ในกระบอกเลนส์
ก็น่าแปลกใจว่าชิ้นแก้วหรือกระจกทำไมชอบเกิดรา
หรือว่าราชอบกินกระจกแต่ทำไมกระจกหน้าต่างบ้านและแก้วน้ำที่เก็บไว้นานๆ
ถึงไม่เกิดรา ราไม่ได้ชอบกินแก้วหรือกระจกแต่ราชอบกินสารที่เคลือบชิ้นแก้วที่เป็นส่วนประกอบของเลนส์
ให้ลองสังเกตกระจกแว่นตาที่ทางร้านจะถามเราว่าจะเอาชนิด
Coat ธรรมดาหรือจะเอาแบบ Multi
coat
ซึ่งแบบหลังนี่ก็คือการเคลือบหลายชั้นลองสักเกตุดูจะเห็นว่าที่ชิ้นแก้วจะมีสีแปลกๆ
นั่นล่ะคือสารเคลือบ
เลนส์ถ่ายรูปก็เช่นเดียวกันมีการเคลือบหลายชั้นมากกว่าแว่นตาเสียอีกทั้งนี้เพื่อให้ภาพที่ถ่ายออกมาคมชัด
สารที่เคลือบนี่เองเป็นอาหารจานโปรดของรากินแล้วโตวันโตคืน
จะป้องกันราได้อย่างไร....
เราจะปราบราเราต้องรู้จุดอ่อนของราก่อน
ราชอบขึ้นในที่ชื้นๆ
ถ้าจะให้เป็นวิชาการหน่อยก็ระบุไปเลยว่าราชอบขึ้นในที่ชื้นที่มีค่าความชื้นมากกว่า
50%
ขึ้นไปแล้วประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น
มีความชื้นอยู่ระหว่าง 60-90%
ฤดูหนาวความชื้นจะต่ำหน่อย
ฤดูฝนก็มากหน่อย
ซึ่งความชื้นขนาดนี้ราสามารถอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขกันทีเดียวเชียว
ดังนั้นถ้าเราไม่ต้องการให้ราเกิดหรือเพิ่งเกิดไม่ให้เจริญเติบโตต่อไป
เราก็ทำให้ที่อยู่ของรามีความชื้นน้อยๆ
ราก็ไม่เกิด
ที่เกิดแล้วก็จะไม่โตและแห้งตายไปในที่สุด
วิธีทำให้ที่เก็บกล้องและเลนส์มีความชื้นน้อยๆ
ง่ายนิดเดียว
แบบสะดวกสบายแต่เสียเงินเยอะหน่อยก็คือเก็บไว้ในตู้กันความชื้น
ราคาหลายพันบาท ไปซื้อมาจากร้านขายอุปกรณ์การถ่ายภาพพอมาถึงบ้านก็เสียบปลั๊กไฟ
เปิดตู้ออกเอากล้องและเลนส์ใส่เข้าไปมีวงจรไฟฟ้าจัดการกับความชื้นให้อย่างเรียบร้อย
ราไม่เกิดแน่นอน
แต่เวลาโจรขึ้นบ้านขณะท่านไปทำงาน
โจรมันจะยกไปทั้งตู้เลยเพราะทุกอย่างคุณรวมไว้ในที่เดียวกันอย่างเรียบร้อยไม่ต้องเสียเวลาหา
ยกตู้เดียวพอกินไปหลายเดือน
แบบประหยัด
โดยการเก็บไว้ในถุงพลาสติกมัดปากถึงให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นภายนอกเข้า
แล้วใส่สารดูดความชื้นสัก 2
ซองไว้ในถุงพลาสติกด้วย สารดูดความชื้นนี้จะต้องนำออกมาตากแดดบ้างสักเดือนละ
2 ครั้งหรืออย่างน้อยก็ 1 ครั้ง
เพราะสารดูดความชื้นซองเล็ก
ๆ นี้
ดูดความชื้นได้เพียงเล็กน้อยก็อิ่มตัว
หรือไม่ยอมดูดซะแล้ว
ดังนั้นเราจึงต้องนำออกไปตากแดดเพื่อให้ความชื้นที่อยู่ในตัวดูดความชื้นละเหยออกไปซะบ้าง
การป้องกันความชื้นและราอีกวิธหนึ่งคือการเก็บกล้องไว้ในห้องแอร์
เพราะห้องแอร์จะมีความชื้นต่ำ
เมื่อต้องการนำออกไปถ่ายรูปนอกห้องแอร์จะต้องเอากล้องใส่ถุงพลาสติก
เมื่อนำออกมาแล้วรอให้กล้องหายเย็นแล้วค่อยนำออกมาจากถุง
ถ้านำกล้องออกไปถ่ายรูปภายนอกห้องที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอย่างทันทีทันใดจะเกิดความชื้นเป็นฝ้าละอองน้ำอย่างเห็นได้ชัด
เพราะกล้องและเลนส์ที่อยู่ในห้องแอร์จะเย็นเมื่อออกไปเจออากาศร้อนนอกห้องจะเกิดการดูดความชื้นรอบๆ
ข้างทำให้เกิดเป็นหยดน้ำเล็ก
ในเลนส์ก็จะดูดความชื้นจากภายนอกเข้าไปในเลนส์ด้วยดังนั้นควรใส่กล้องไว้ในถุงพลาสติกก่อน
ทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยนำออกมาใช้งานตามปกติ
วิธีการตากสารดูดความชื้น...
วันใดแดดจัดให้เอาออกไปวางตากแดดวางบนหลังคารถเราที่ทำงานก็ได้ถ้าเห็นว่าฝนจะตกก็รีบออกไปเก็บแดดออกก็นำออกไปตากใหม่
ตากไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
เมื่อคิดว่าแห้งดีแล้วก็ให้เก็บใส่ถุงพลาสติก
( อย่างไม่รั่ว )
ปิดมิดชิดด้วยหนังยางป้องกันความชื้นจากภายนอกเข้าก่อนการใช้งาน
เก็บไว้อย่างนั้นจนหายร้อนแล้วจึงนำเข้าไปใส่ในถุงพลาสติกที่เก็บกล้อง
อย่าเอาไปใส่ขณะที่สารดูดความชื้นยังร้อนอยู่เพราะไม่เป็นผลดีกับกล้อง
ราเกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไร....
อ่านจบแล้วรีบไปถอดเลนส์มาส่องดูถ้าเพิ่งเริ่มเกิดเป็นจุดเล็กๆ
หรือเป็นสายแล้วแต่ไม่มากให้รีบเอาสารดูดความชื้นใส่อย่างด่วนใส่หลายๆ
ซองดูดเต็มอัตราให้ภายในเลนส์แห้งสนิท
ราก็จะตายหรือหยุดการเจริญเติบโตไม่ต้องเอาไปล้างเพราะล้างแล้วคุณภาพจะลดลง
แต่ถ้าเป็นรามากแล้วเป็นสายเกือบทั่วเลนส์ก็ต้องส่งล้าง
คุณภาพที่ได้ลดลงแน่นอน
การประกอบคืนรู้ได้ไงว่าจะดีเหมือนเดิม
แต่ถ้าเป็นรามากๆ
จนเหมือนผิวแตกลายงาละก็โยนทิ้งไปเลยหรือไม่ก็เก็บไว้ถอดดูเล่น
ที่เขียนมานี่ก็เพื่อให้เราเก็บของไว้ใช้งานได้นานๆ
ไม่ต้องเสียเงินซื้อบ่อยๆ
เพราะนอกจากกระเป๋าเราจะแห้งลงแล้วยังทำให้เงินไหลออกนอก
เลนส์ 1 ตัวราคาประมาณ 10,000 บาท ต้องขายข้าวเปลือกถึง
2 เกวียนซึ่งต้องใช้พื้นที่ปลูกถึง
6 ไร่
ส่งออกไม่ได้อีกต่างหากบ้านเราผลิตเองไม่ได้ก็ต้องซื้อ
เมื่อซื้อมาแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้มค่า
|