ผลของความเร็วชัตเตอร์
( Speed ) กับภาพถ่าย
หน้าที่หลักของความเร็วชัตเตอร์
คือ
ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าไปตกลงบนแผ่นฟิล์ม
นอกจากนี้แล้วยังมีผลต่ออารมณ์ของภาพ
ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ
จะทำให้ภาพหยุดนิ่ง
ใช้สำหรับถ่ายสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวให้ได้ภาพที่คมชัด
เช่นถ่ายภาพคนขี่เจ็ตสกี
ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเช่น
1/1000 วินาที ภาพจะหยุดนิ่ง
แต่ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ
เช่น 125
จะมีผลทำให้ภาพมีลักษณะการเคลื่อนไหวผ่านหน้ากล้อง
กล้องจะจับภาพไม่อยู่ทำให้ขาดความคมชัดเพียงแต่จะเป็นแนวสีวิ่งแผ่นหน้ากล้อง
ทำไมความเร็วชัตเตอร์สูงๆ
จึงหยุดการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เราจะถ่ายได้
วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะมีเร็วความในตัวของมันเองเป็นความเร็วหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเคลื่อนที่ช้าหรือเร็ว
ถ้าหากเราใช้ความเร็วในการจับภาพที่สูงกว่าความเร็วของวัตถุที่เราต้องการถ่าย
ภาพนั้นก็จะหยุดนิ่ง
ยกตัวอย่างการถ่ายภาพมอเตอร์ไซด์ที่วิ่งผ่านกล้อง
หากเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/2
วินาที
จะเห็นเป็นแนวสีวิ่งผ่านในภาพ
ทั้งนี้เพราะม่านชัตเตอร์ปิดลงหลังจากที่มอเตอร์ไซด์หายไปจากกรอบของภาพแล้ว
ถ้าหากเราใช้ความเร็วในการเปิดปิดรับภาพที่ไวกว่าความเร็วของมอเตอร์ไซด์
ม่านชัตเตอร์จะเปิดและปิดรับภาพเพียงเสี้ยวเวลาหนึ่งทำให้จับภาพได้เพียงจังหวะหนึ่งของการเคลื่อนที่เท่านั้น
ภาพที่ได้จึงดูว่าหยุดนิ่ง
ความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ
เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ต้องการบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวเช่น
น้ำตกที่ไหลเป็นสาย,
พลุที่วิ่งขึ้นไปเป็นเส้นแสงแล้วแตกกระจายเป็นรูปทรงที่สวยงาม
เส้นเหล่านั้นคือลูกไฟจุดเล็กๆ
ที่วิ่งผ่านไปในอากาศ
ระหว่างที่วิ่งไปนั้นแสงของจุดนั้นจะถูกบันทึกสะสมไว้บนแผ่นฟิล์ม
ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ
ก็จะเห็นเพียงลูกไฟเล็กๆ
เป็นจุดเท่านั้น
สรุปว่า
ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ
เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้หยุดนิ่ง
เช่น ถ่ายภาพกีฬา
ถ่ายภาพดอกไม้ที่มีการเคลื่อนไหวเพราะแรงลม
ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ
เหมาะสำหรับการถ่ายภาพให้มีความรู้สึกว่ามีความเคลื่อนไหว
หรือต้องการสร้างอารมณ์ภาพที่แตกต่างไป
ภาพแสดงความแตกต่างของการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงภาพซ้าย
กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำภาพขวา
น้ำตกเหมือนกัน
ตกลงมาด้วยความเร็วเท่ากัน
แต่ใช้ความเร็วถ่ายภาพต่างกัน
ให้อารมณ์และความสวยงามที่ต่างกัน
|