หน้าแรกทัวร์ดอย         ดอกไม้ป่าเมืองไทย

ป่าไม้เมืองไทย ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้

ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ระหว่างเขตร้อน และ เขตร้อนชื้น เหนือจรดใต้ระยะทาง ๑,๖๕๐ กิโลเมตร มีสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ภาคใต้อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมีอากาศร้อนฝนตกชุก ส่วนภาคเหนืออยู่ในโซนที่เย็นกว่ามีปริมาณฝนน้อยกว่า  ด้วยความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณฝนนี้เองทำให้เกิดป่าในลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ สรุปได้เป็น ๒ ประเภทคือ ป่าไม่ผลัดใบ ( Evergreen Forest )  และ ป่าผลัดใบ ( Deciduous )

1. ป่าไม่ผลัดใบ ( Evergreen Forest )  หรือ ป่าเขียวตลอด เป็นป่าที่ดูเขียวตลอดปี ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นต้นไม้ประเภทไม่ผลัดใบ ทั้งนี้ก็เพราะว่าพื้นที่ป่าได้รับปริมาณฝนมากเพียงพอตลอดปีจึงทำให้ต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบสามารถขึ้นอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งใบเพื่อลดการคลายน้ำ  หากนำต้นไม้ชนิดไม่ผลัดใบไปปลูกยังป่าที่มีปริมาณฝนน้อยก็ไม่สามารถอยู่ได้เพราะจะแห้งตายเพราะขาดน้ำ ป่าไม่ผลัดใบในแต่ละพื้นที่ยังได้รับปริมาณน้ำฝนไม่เท่ากัน ป่าที่ได้รับน้ำฝนมากและต่อเนื่องตลอดปีก็จะเขียวแน่นทึบไปด้วยต้นไม้ ป่าที่ได้รับน้ำฝนน้อยกว่าก็จะมีความสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้น้อยกว่า ด้วยความแตกต่างของประมาณฝนจึงแบ่ง ป่าไม่ผัดใบ ออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.1 ป่าดงดิบชื้น หรือ มักเรียก ป่าดิบชื้น  ( Tropical Evergreen Forest ) หรือที่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า Rain Forest 

ชนิดนี้มีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มักสูงกว่า ๓๐ เมตร บางต้นอาจสูงถึง ๕๐ เมตร ในประเทศไทยมีป่าดงดิบชื้นกระจายอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก โดยขึ้นตามที่ราบหรือบนภูเขาที่สูงไม่เกิน ๖๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล เช่นภาคใต้ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคตะวันออก ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าดงดิบชื้นขึ้นในพื้นที่หนึ่ง ๆ ก็คือ ปริมาณน้ำฝนที่สูงกว่า ๑,๖๐๐มิลลิเมตรต่อปี และปีหนึ่งจะมีฝนตกไม่ต่ำกว่า ๘ เดือน คือ มีช่วงฤดูแล้งสั้นมาก ดินต้องลึกและกักเก็บความชื้นได้ดี และอุณหภูมิต้องค่อนข้างสูง คือ โดยเฉลี่ยสูงกว่า ๒๐ องศาเชลเซียส ป่าดงดิบชื้นในประเทศไทยส่วนใหญ่มีไม้ในวงศ์ยางเป็นต้นไม้เด่น เช่น ยางนา ยางเสี้ยน ตะเคียนทอง สยาขาว ตะเคียนชันตาแมว ไข่เขียว และหลุมพอ ไม้เหล่านี้เป็นไม้ชั้นเรือนยอด สำหรับไม้ชั้นลองลงมา เช่น หว้า ทุ้งฟ้า ตีนเป็ด มังคุดป่า และสะเดาปัก นอกจากนี้ยังมีพืชในวงศ์ปาล์ม เช่น หวายต่าง ๆ ขึ้นอยู่มาก เเละมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ขึ้นเกาะพันต้นไม้ ส่วนตามพื้นป่าหนาแน่นไปด้วยพืชในวงศ์ขิงข่าและคล้า

1.2 ป่าดงดิบแล้ง เป็นป่าไม่ผลัดใบที่มีไม้ผลัดใบขึ้นปะปนอยู่ด้วยในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน ไม้ที่ไม่ผลัดใบมักมีการเปลี่ยนแปลงใบค่อนข้างสูงในช่วงฤดูแล้ง แต่โดยรวมแล้วสภาพป่าก็จะยังเขียวชอุ่มอยู่ตลอดทั้งปี ป่าดงดิบแล้งกระจายตัวอยู่ตามภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามที่ราบหรือตามหุบเขา อุทยานแห่งชาติที่มีป่าดงดิบแล้งให้ชมได้ง่าย เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี และอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี นครราชสีมา ป่าดงดิบแล้งเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีฤดูกาลชัดเจน และต้องมีช่วงแล้งนาน ๓-๔ เดือน มีดินค่อนข้างลึกสามารถเก็บกักน้ำได้ดีพอสมควรที่จะทำให้พรรณไม้บางชนิดสามารถคงใบอยู่ได้ ตลอดช่วงความแห้งแล้งนี้ ปกติพบได้ตั้งแต่ระดับความสูง ๑๐๐-๘๐๐จากระดับน้ำทะเล มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ มิลลิเมตรต่อปี โครงสร้างของป่าแบ่งเป็น ๓ ชั้น ชั้นบนสุดคือชั้นเรือนยอดสูง ๒๕-๔๐ เมตร ประกอบด้วยพรรณไม้ในวงศ์ยาง เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน พะยอม มะค่าโมง ตะแบกแดง และพะยูง รองลงมาเป็นเรือนยอดชั้นลอง สูง ๑๐-๒๐ เมตร เช่น ตะคร้ำ กรวย ข้าวสารหลวง พลองใบเล็ก และกระเบากลัก และชั้นไม้พุ่มที่สูงไม่เกิน ๕ เมตร เช่น ชิงชี่ เข็มขาว และหัสคุณ ตามพื้นป่ามีขิงข่ามากมายหลายชนิด ป่าดงดิบแล้งเป็นแหล่งของเถาวัลย์หลายชนิดโดยเฉพาะหวาย

1.3 ป่าดงดิบเขา เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบที่ปกคลุมยอดเขาสูงในระดับความสูงตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป สภาพดินโดยทั่วไปมีความลึกพอสมควร สามารถที่จะพยุงไม้ขนาดใหญ่ได้ มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิไม่เกิน ๒๐ องศาเชลเซียส และช่วงต่ำสุดอาจน้อยกว่า ๐ องศาเชลเซียส อากาศมีความชื้นสูงเนื่องจากมีเมฆเข้ามาปกคลุมอยู่เสมอ จนบางครั้งได้รับการเรียกขานว่าเป็น ปาเมฆ ป่าดงดิบเขามีไม้เด่นคือไม้จำพวกก่อ เช่น ก่อแป้น ก่อตลับ และก่อแดง และสามารถแบ่งย่อยออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ พบในระดับความสูงต่ำกว่า ๑,๕๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา เป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ อาจสูงถึง ๓๐ เมตร มีไม้ก่อขึ้นปะปนกับไม้อื่น ๆ เช่น มณฑาดอย และทะโล้ ตามต้นไม้มีพืชเกาะน้อย อีกประเภทหนึ่งคือ ป่าดงดิบเขาระดับสูง มีเรือนยอดป่าสูงประมาณ ๒๐ เมตร ต่ำกว่าป่าดงดิบเขาระดับต่ำ ต้นไม้ส่วนใหญ่มีกิ่งก้านคดงอ ตามกิ่งและลำต้นมีมอสเกาะอยู่อย่างหนาแน่นจนได้รับการเรียกขานว่า ป่ามอส ประกอบกับเมื่อมีเมฆปกคลุมจะเสริมให้บรรยากาศดูเก่าแก่ จนหลายคนกล่าวว่าเป็น ป่าดึกดำบรรพ์ ป่าดงดิบเขาพบได้ตามยอดดอยดินทนนท์ ยอดภูกระดึง และยอดเขาหลวง

2. ป่าผลัดใบ 

เป็นป่าชนิดที่ประกอบด้วยพรรณไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ ผู้ที่ไม่เข้าใจระบบนิเวศประเภทนี้เมื่อมองเห็นป่าผลัดใบในช่วงหน้าแล้งจึงมักกล่าวว่า เป็นป่าแห้งแล้งหรือป่าเสื่อมโทรม ป่าผลัดใบพบในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ มิลลิเมตร ต่อปีซึ่งน้อยกว่าป่าไม่ผลัดใบ และภูมิอากาศแบบมรสุม คือมีช่วงฤดูแล้งชัดเจน จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง ๕๐-๘๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ป่าผลัดใบแบ่งเป็นชนิดในระดับย่อย ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า

2.1 ป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ พบในพื้นที่ซึ่งมีระดับความสูง ๕๐-๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล และมีปริมาณน้ำฝนน้อย พรรณไม้หลักที่พบได้แก่ สัก มะค่า แดง ประดู่ ชิงชัน รายละเอียดป่าเบญจพรรณ

2.2 ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบที่พบตามพื้นที่สูงตั้งแต่ ๕๐-๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีสภาพดินตื้นและเก็บกักน้ำได้ไม่ดี พันธุ์ไม้เด่นในป่านี้มีอยู่ ๕ ชนิด ได้แก่ เต็ง รัง เหียน พลวง และยางกราด รายละเอียดป่าเต็งรัง

3. ป่าพื้นราบ