ชมวิว
สามเหลี่ยมทองคำ |
|
 |
เป็นจุดบรรจบกันของ
3 ประเทศ คือ ไทย
ลาว พม่า
ระหว่างลาว-พม่า
มีแม่น้ำโขงกั้น
ระหว่างไทย-พม่า
มีแม่น้ำรวกกั้น
จุดบรรจบกันของทั้งสามประเทศมีตะกอนทรายทับถามอยูกลางน้ำ
จุดนี้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม
วิวฝั่งลาวมีแต่ป่าไม่มีชุมชน
ฝั่งพม่ามีอาคารหลังใหญ่ซึ่งเป็นบ่อนคาสิโนที่นักลงทุนไทยไปทำไว้เพื่อความสร้างความเพลิดเพลินให้นักท่องเที่ยว
ฝั่งลาวถัดไปทางด้านท้ายน้ำมีเกาะของลาวเกาะหนึ่งชื่อว่าเกาะดอนซาว
นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเที่ยวได้โดยเสียค่าขึ้นเกาะ
20 บาท
บนเกาะเป็นแหล่งขายสินค้าปลอดภาษี
ไม่น่าแวะขึ้นให้เสียเวลา
นับแต่ปีท่องเที่ยวนี้เป็นต้นไป
( 2548 )
สามเหลี่ยมทองคำมีจุดท่องเที่ยวเพิ่มจากเดิมคือมีการสร้างพระพูทธรูปองค์ใหญ่อยู่บนเรือนาวา
และสร้างตุงทองขนาดใหญ่
และสร้างอีกหลายเชือก
และมีอนุเสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายด้วย
นอกจากจุดนี้จะเป็นจุดชมวิวแล้วที่นี่ยังมีเรือหางยาวให้บริการพานักท่องเที่ยวนั่งเรือชมวิวสามประเทศ
โดยเรือจะพาอ้อมเลาะฝั่งพม่า
ขากลับเลาะริมฝั่งลาว
แล้วพาวนไปชมวิวแถวเกาะดอนซาวของลาว
สนใจติดต่อเรือให้บริการได้ที่ท่าเรือริมแม่น้ำโขง |
ชมวิวเส้นทางสู่
เชียงของ |
|
 |
เชียงของ
เป็นเมืองใหญ่ริมแม่น้ำโขง
ฝั่งตรงข้ามคือแขวงบ่อแก้ว
ของ สปป. ลาว
ด้วยเหตุที่เป็นเมืองทั้งสองฝั่งไทยและลาวจึงทำให้การท่องเที่ยวที่นี่ค่อนข้างครึกคัก
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คือชาวต่างชาติที่มาเที่ยวแล้วอาศัยพักนอนตามเกรสเฮ้าท์ต่างๆ
ในเชียงของ
เมืองนี้มีชื่อเสียงเรื่องการจับปลาบึก
ในช่วงฤดูแล้งจะเป็นฤดูการจับปลาบึก
เส้นทางสู่อำเภอเชียงของเป็นเส้นทางที่สวยงาม
ช่วงแรกจะผ่านที่ราบขนาดใหญ่มีวิวคือทุ่งนาและมีเทือกเขาฝั่งลาวเป็นแบรคกาวด์
ช่วงกลางต้องผ่านเทือกเขา
ช่วงสุดท้ายเป็นเส้นทางเลาะริมแม่น้ำโขงไปจนถึงอำเภอเชียงของ
ถ้าไม่นั่งหลับซะก่อนจะได้เห็นวิวสวยๆ |
จุดชมวิวห้วยทรมาน |
|
 |
เส้นทางไปเชียงของเป็นเส้นทางเลาะริมแม่น้ำโขง
บางช่วงมีขึ้นเขาลงเขา
เมื่อขึ้นไปวิ่งบนเขามองลงมาจะเห็นวิวสวยงาม
ระหว่างเส้นทางมีจุดชมวิวที่น่าสนใจคือ
จุดชมวิวห้วยทรมาน
จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม
ทางซ้ายคือฝั่งไทย
ด้านขวาคือฝั่งลาว
ริมถนนมีดอกบัวตองปลูกประดับไว้ตลอดแนวหากนักท่องเที่ยวผ่านไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนจะเห็นทุ่งบังตองกับวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม |
จุดชมวิวแม่น้ำโขง |
|
 |
ระหว่างเส้นทางที่วิ่งเลาะริมแม่น้ำโขงจะมีศาลาจุดชมวิวและมีพื้นที่จอดรถไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อที่จะได้จอดเพื่อพักรถและชมวิวแม่น้ำโขง
มีจุดชมวิวสวยๆ
หลายจุดแล้วแต่ว่าใครจะชอบมุมไหน
ถึงแม้ไม่จอดแค่เพียงนั่งรถชมวิวก็สวยแล้ว
|
ุนั่งรถชมวิวเส้นทางลอยฟ้า |
|
 |
เส้นทางจากเชียงของไปยังภูชี้ฟ้า
หรืออีกเส้นทางจากเทิงขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า
ทั้งสองเส้นทางนี้ต้องวิ่งบนภูเขาสูง
วิวสวยงามตลอดเส้นทางไม่ว่าจะมองไปข้างหน้า
หรือจะมองลงไปยังหุบเขาเบื้องล่าง
ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหัวโล้นที่ทำการเกษตรของชาวเขา
|
ภูชี้ฟ้า |
|

|
และแล้วก็ถึงจุดหมายปลายทาง
ภูชี้ฟ้า
ภูชี้ฟ้า
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงราย
อยู่ในพื้นที่เขตอำเอภอเทิง
ยอดภูชี้ฟ้าอยู่บนเทือกเขาสุดเขตชายแดนฝั่งตะวันออกติดกับชายแดนประเทศลาว
ห่างจากอำเภอเทิงประมาณ
35 กิโลเมตร ภูชี้ฟ้ามีลักษณะเป็นหน้าผามีปลายยอดแหลมชี้เข้าไปยังฝั่งประเทศลาว
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
๑,๖๒๘ เมตร
บนยออดภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิว
และจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม
ในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง
มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก
เป็นความสวยงามที่นักท่องเที่ยวพากันไปรอชมตั้งแต่ยังไม่สว่าง
บริเวณไหล่เขาของภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้า
แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสวยงามในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว
บริเวณที่ราบไหล่เขาของถนนสายภูชี้ฟ้าเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทและบ้านพักหลายรายเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปเที่ยวและพักค้างแรมในบรรยากาศที่หนาวเย็น
ปัจจุบันนี้ภูชี้ฟ้าอยู่ในความดูแลของวนอุทยานภูชี้ฟ้า
บริเวณริมถนนขึ้นภูชี้ฟ้ามีที่ราบที่จัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้กางเต็นท์พักแรมด้วย
ภูชี้ฟ้าเป็นดอยเดียวที่ชื่อว่าภู
จริงแล้วจะต้องชื่อว่าดอยชี้ฟ้าตามคำเรียกของทางเหนือ
แต่ว่าภูชี้ฟ้าเป็นชื่อที่คนต่างถิ่นไปตั้งชื่อ
จึงมีเรียกว่าภู
การเดินทาง
อยู่ห่างจากเชียงราย
๑๑๑ กิโลเมตร
ใช้ทางหลวงหมายเลข
๑๐๒๐
เข้าสู่อำเภอเทิง
จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข
๑๑๕๕
จนถึงทางแยกขวาขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า
หรือใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายเชียงราย-เทิง
ลงรถที่อำเภอเทิง
จากนั้นเช่ารถขึ้นไปภูชี้ฟ้า
จากจุดจอดรถภูชี้ฟ้าจะต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภู
เส้นทางลาดชันทางเดินกว้างแต่ลื่น
การเดินขึ้นยอดภูชี้ฟ้าในตอนเช้าควรระมัดระวัง
ยอดภูมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงเมื่อขึ้นไปอยู่บนภูไม่ควรปีนป่ายบริเวณหน้าผาเพราะอาจจะตกหน้าผาลงไปยังฝั่งลาวเบื้องล่างได้
ถ้าตกลงก็อาจจะมีปัญหาเรื่องวีซ่าจะกลายเป็นเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
|
ดอยผาตั้ง |
|
 |
ดอยผาตั้ง
อยู่ในเขตอำเภอเวียงแก่น
ห่างจากเชียงราย
160 กิโลเมตร
ห่างจากภูชีฟ้าไปทางเหนือ
25 กิโลเมตร
จากถนนเส้นทางหลักมีทางขึ้นสู่จุดชมวิวบนดอยผาตั้ง
จากลานจอดรถมีเส้นทางเดินเท้าขึ้นจุดชมวิวระยะทางไม่ไกล
ที่จุดชมวิวจะเห็นทัศนีภาพแม่น้ำโขงและภูมิประเทศของลาว
ใกล้ๆ
กันมีช่องเขาเรียกว่าผาบ่องเป็นจุดช่องเขาสำหรับชมวิว
จุดที่ยืนอยู่ในเขตประเทศไทย
แต่พอผ่านพ้นช่องเขานี้ไปก็คือเขตประเทศลาว
จุดชมวิวบนยอดดอยผาตั้งแห่งนี้มีความสวยงามขาดแต่เพียงว่าไม่มีปลายยอดแหลมชี้เหมือนกับภูชี้ฟ้า
ที่นี่มีจุดให้เดินเที่ยวมากกว่า
มีจุดชมวิวหลายจุด
มีทั้งวิวทะเลหมอก
และวิวแม่น้ำโขงที่ไหนผ่านผืนแผ่นดินลาวซึ่งแต่ก่อนเป็นของไทย
บริเวณใกล้เคียงดอยผาตั้งมีรีสอร์ทและบ้านพักเปิดให้บริการหลายราย
นักท่องเที่ยวทางด้านดอยผาตั้งจะมีน้อยกว่าทางด้านภูชี้ฟ้าจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งที่พัก
เที่ยวสบายๆ
|
ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง
ดอยผาหม่น |
|

|
ดอยผาหม่น
เป็นศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกดอกไม้เมืองหนาว
มีดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ
หลายชนิดมีทั้งปลูกในโรงเรือนและปลูกลงแปลงกลางแจ้ง
นอกจากดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ
แล้วภายในศูนย์เกษตรยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม
ศูนย์เกษตรแห่งนี้เปิดให้ต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้าชมฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
แต่การไปชมศูนย์เกษตรไม้เมืองหนาวแห่งนี้ต้องเข้าใจไว้อย่งหนึ่งว่าที่นี่เป็นศูนย์เกษตรปลูกพืชเพื่อการทดลองมิใช่ปลูกประดับไว้ให้นักท่องเที่ยวชม
จะให้สวยงามอย่างสวนดอยตุงนั้นไม่ได้
จะให้สวยเหมือนแปลงไม้ประดับที่อ่างขางไม่ได้
ที่นี่มีนักท่องเที่ยวผ่านมาแวะชมน้อยและไม่ได้เก็บค่าเข้าชม
ดังนั้นจึงไม่มีงบประมาณที่จะปลูกให้สวยงามเหมือนที่อื่น
หากนักท่องเที่ยวไปในช่วงที่แปลงไม้ดอกกำลังออกดอกก็จะเห็นความสวยงาม
หากไปในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะไม่สวยงาม
ดังนั้นหากใครจะแวะไปต้องทำใจเรื่องนี้ด้วย
สวยน่ะสวยแน่แต่ไม่เริดอย่างที่อยากจะเห็น
ที่บอกไว้เพราะบางท่านเห็นแล้วร้องยี้
แล้วบอกว่า
มาทำไมเนี่ย
สวยสู้ดอยตุงก็ไม่ได้
ศูนย์ฯ
มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว
๓ หลัง ราคา ๑,๒๐๐
บาท/หลัง
พักได้หลังละ ๑๐–๑๕
คน
ไม่มีร้านจำหน่ายอาหาร
ต้องสั่งจองล่วงหน้า
สอบถามข้อมูล โทร.
๐ ๕๓๗๖ ๗๐๖๖
การเดินทาง
จากตัวภูชี้ฟ้าใช้เส้นทางลงทางอำเภอภูซาง
ศูนย์เกษตรฯ
อยู่ทางขวามือ
ห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ
8 กิโลเมตร หากขึ้นทางภูซาง
ศูนย์เกษตรฯ
จะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงภูชี้ฟ้า
|
|
|
|
 |
|
|
|
|