ถ้ำแก้วโกมล
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ลาน้อย
จ.แม่ฮ่องสอน
แต่เดิมเป็นพื้นที่สัมปทานขุดแร่ฟลูออไรต์
ระหว่างที่ขุดสำรวจหาแหล่งแร่ฟลูออไรต์ได้พบสายแร่สีขาว
คณะสำรวจจึงได้ขุดไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งไปพบโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่มีผนังถ้ำที่เต็มไปด้วยผลึกแร่สีขาวซึ่งไม่ใช่แร่ฟลูออไรต์แต่เป็นผลึกแร่แคลไซต์
เหตุการณ์นี้ได้พบเมื่อวันที่
10 พฤศจิกายน 2536
คณะสำรวจนำโดยวิศกรเหมืองแร่
ประจำสำนักงานทรัพยากรธรณี
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จึงได้รายงานให้กับทางกรมทรัพยากรณีได้ทราบ
หลังจากนั้นได้กันพื้นที่ไว้
ถ้ำที่พบใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า
ถ้ำผลึกแร่แคลไซต์แม่ลาน้อย
เรียกตามผลึกแร่ที่พบ
ลักษณะถ้ำ มีความลึก 30 เมตร ยาว
120 เมตร
ความกว้างแคบสุด 1
เมตร ส่วนกว้างสุด 10
เมตร
อุณหภูมิภายในถ้ำประมาณ
34 องศาเซลเซียส
อยู่ที่ระดับความสูง
500 เมตร โถงถ้ำอยู่ลึกลงเป็นแบ่งเป็น
5 ระดับชั้น
หรือเป็นห้องต่างๆ 5
ห้อง
จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2538
กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการพัฒนาเพื่อให้ถ้ำนี้สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้
แต่เดิมถ้ำนี้เป็นถ้ำปิด
เป็นโถงถ้ำที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นหินและไม่มีช่องเปิดสู่ภายนอก
กรมทรัพยกรธรณีจึงได้ทำการเจาะปากถ้ำและทำบันไดลงสู่โถงถ้ำห้องล่างๆ
ในปี พ.ศ. 2540
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้คืนพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้
โดยจัดตั้งเป็นวนอทยานแม่ลาน้อย
หลังจากที่กรมทรัพยากรธรณีได้พัฒนาให้ถ้ำสะดวกแก่การเข้าไปเที่ยวชมแล้วจึงได้มอบถ้ำผลึกแร่แคลไซต์แม่ลาน้อย
ให้กับกรมป่าไม้
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2543
อีก 2
เดือนต่อมาในวันที่
19
กุมภาพันธ์ 2544
สมเด็จพระนางจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร
ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร
และได้พระราชทานนามชื่อใหม่ของ
ถ้ำแร่แคลไซต์แม่ลาน้อย
ว่า ถ้ำแก้วโกมล
และได้พระราชทานนามชื่อห้องในถ้ำแก้วโกมลซึ่งอยู่ภายในถ้ำเป็นชั้นๆจำนวน
5 ชั้นดังนี้
ชั้นที่หนึ่ง
นามห้อง พระทัยธาร
ชั้นที่สอง
นามห้อง วิมานเมฆ
ชั้นที่สาม
นามห้อง เฉกหิมพานต์
ชั้นที่สี่
นามห้อง ม่านผาแก้ว
ชั้นที่ห้า
นามห้อง เพริศแพร้วมณีบุปผา
ถ้ำแก้วโกมลแห่งนี้มีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใคร
มีแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนี้
และเพิ่งพบเพียง 2
แห่งทั่วโลก
โดยปกติภายในถ้ำจะเกิดจากหินงอกหินย้อยของหินปูน
แต่ถ้ำแห่งนี้เกิดจากการตกผลึกของแร่แคลไซด์
แต่เดิมถ้ำนี้เป็นถ้ำปิดสภาพอากาศภายในมีความอบอ้าว
ความเป็นไปได้ว่าใต้ถ้ำมีสายน้ำร้อนทำให้แร่แคลไซด์ละลายแล้วตกผลึกเกาะตัวตามผนังถ้ำเกิดเป็นผลึกแก้วที่ไม่ธรรมดา
การเข้าชมถ้ำแก้วโกมล
เสียค่าธรรมเนียมคนละ
40 บาท เด็ก 20 บาท
นักท่องเที่ยวจะต้องจอดรถไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแล้วใช้บริการรถสองแถวท้องถิ่นขึ้นไปยังศูนย์บริการที่ปากถ้ำ
หลังจากนั้นจะต้องรอคิวเข้าถ้ำ
อนุญาตให้เข้าชมครั้งละ
20 คน รอบละประมาณ 20-30
นาที
การเข้าถ้ำไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายในถ้ำ
(
เพิ่งออกกฎนี้เมื่อปี
2549 )
เหตุผลว่าแสงไฟจากแฟลชจะทำปฏิกริยากับผนังถ้ำ
ห้ามใส่หมวก
เพราะเมื่อสวมหมวกแล้วอาจจะไม่ระมัดระวังจนอาจไปกระแทกกับผลึกแร่บริเวณเพดานถ้ำได้
ห้ามสวมเสื้อคลุม
หรือเสื้อแจคเก็จ
เพราะอาจจะไปเกี่ยวหรือสัมผัสกับผลึกแร่ได้
ห้ามสะพายกระเป่าทุกชนิด
เพราะอาจจะไปเกี่ยวหรือสัมผัสกับผลึกแร่ได้
ห้ามจับสัมผัสกับผลึกแร่ทุกชนิดที่อยู่ในถ้ำ
การจับสัมผัสจะทำให้แร่นั้นผ่อและแห้งไปในที่สุด
ห้ามป้วนน้ำลายในถ้ำ
ห้ามพูดคุยกันในถ้ำ
โอ้ ไม่ๆๆ ไม่ได้ห้าม ตามสบาย
จากการที่ถ้ำเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมมาได้เพียง
7 ปี
ถ้ำก็เริ่มโทรมแล้ว
มันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้และรับรู้ถึงความแตกต่างในแต่ละปี
ปีก่อนนู้นผลึกแร่ยังขาวสะอาด
ปัจจุบันนี้เริ่มดำลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัด
ไม่ใช่จากการจับสัมผัส
แต่เกิดจากสภาพอากาศในถ้ำที่เปลี่ยนแปลงไป
แต่เดิมถ้ำนี้เป็นเพียงถ้ำที่ปิดสนิทไม่ได้รับอากาศจากภายนอก
แต่เมื่อเปิดถ้ำให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมแล้วทำให้อากาศภายนอกเข้ามายังถ้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมาในปริมาณมากทำปฏิกริยากับผลึกแร่จนเปลี่ยนหมองคล้ำ
ดังนั้นการเที่ยวชมถ้ำขอให้เที่ยวชมอย่างอนุรักษ์
พยายามอย่าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
หรือปล่อยออกมาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีง่ายๆ
หายใจเข้าสองครั้ง
หายใจออกหนึ่งครั้ง
ก่อนจะเข้าถ้ำลองทำดูให้ชำนาญก่อน
ลองทำดูว่าทำได้หมั๊ย
ลองไปเรื่อยๆ อ้อ..
ระวังจะหน้ามืดเป็นลมด้วย
การเดินทาง
จากถนนใหญ่ทางหลวงหมายเลข
108 ถึงแม่ลาน้อย
ให้เลี้ยวขวาซอยที่
2 ไปตามถนน รพช.
สังเกตป้ายบอกทาง
ขับไปตามป้ายบอกทางถ้าหลงก็ออกมาเริ่มที่จุดตั้งต้นใหม่
ระยะทางประมาณ 5
กิโลเมตร
ไปถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้จอดรถไว้ที่ลานจอดรถ
แล้วใช้บริการรถท้องถิ่นขึ้นสู่ปากถ้ำ
|