หน้าแรก   โปรแกรมทัวร์   ภาพท่องเที่ยว   ข้อมูลท่องเที่ยว   โรงแรมทั่วไทย   ท่องเที่ยวธรรมชาติ   เวบบอร์ด   อุทยานแห่งชาติ   แผนที่ทั่วไทย   ติดต่อเรา

 

ธุรกิจท่องเที่ยว

โรงแรม - ที่พัก

ร้านอาหาร

รถเช่า

โปรแกรมทัวร์

เทศกาล และงานประเพณี

งานประเพณีสงกรานต์
ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี วันนี้ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยล้านนา  ก่อนหน้าวันสงกราณต์ 7 วันจะเป็นวันงานบุญของชาวเหนือ โดยแต่ละวัดจะมีการงานบุญทอดกระฐินผ้าป่า ชาวบ้านก็จะออกไปร่วมกันทำบุญตลอดช่วง 7 วัน  เมื่อถึงวันที่ 13 เม.ย. เป็นวันเริ่มเทศกาลสงกราณต์ วันนี้จะเรียกว่า วันสังขารล่อง ในช่วงเช้าชาวบ้านจะจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีต่างๆ จากนั้นจะช่วยกันเก็บกวาดบ้านเรือน ทำความสะอาดบ้าน ทำความสะอาดพระพุทธรูป

วันที่ 14 เม.ย. เรียกว่า วันเนา วันนี้จะต้องทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล ห้ามด่าทอ พูดจาโกหก หรือทะเลาะวิวาทกัน  ในแต่ละบ้านจะทำขนมเทียน ข้าวแต๋น เพื่อนำไปทำบุญที่วัด

วันที่ 15 เม.ย. เรียกว่า  วันพญาวัน  เป็นวันปีใหม่ของชาวล้านนา เป็นวันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการก่อพระเจดีย์ทราย และนำธงช่อไปปัก  มีการนำธงตุงไปวัด และนำไม้ค้ำโพธิ์ไปค้ำใต้กิ่งต้นโพธิ์ และร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูป  สำหรับในตัวเมืองเชียงใหม่จะมีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ โดยเริ่มจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน  ทั้งหมดคือประเพณีสงกราณต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวล้านลาถือประพฤติปฏิบัติเป็นประเพณีมายาวนาน

งานประเพณียี่เป็ง
เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อที่ทำขึ้นเพื่อปลดปล่อยความทุกข์และสิ่งไม่ดีให้ลอยไปกับโคมลอยและกระทง ซึ่งเรียกว่าลอยโขมด วันจัดงานจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ตรงกับวันลอยกระทงทั่วไปของคนไทย สองวันก่อนวันงานจะเป็นการทำบุญเพื่อถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้า และทำบุญตักบาตรถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ  ตกตอนค่ำชาวบ้านจะนำประทีบมาวัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัยและฟังเทศน์  จากนั้นจึงเริ่มจุดโคมไฟ ปล่อยโคมลอย หรือลอยโขมด ( ลอยกระทง ) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปล่อยความทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีออกไป  ในระยะหลังงานประเพณียี่เป็งถูกนำมาเป็นใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจัดให้มีการจัดงาน 3 วัน โดยจัดให้มีการประกวดกระทงโคมไฟ และมีขบวนแห่กระทงใหญ่ไปตามถนนในตัวเมืองเชียงใหม่ ตกกลางคืนมีการลอยโคม ลอยกระทง และมีการประกวดนางนพมาสด้วย  นักท่องเที่ยวที่สนใจร่วมงานประเพณียี่เป็ง ลอยกระทงเชียงใหม่ สามารถเริ่มลอยกระทงได้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงหน้าที่ทำการเทศบาลเชียงใหม่ไปตลอดริมน้ำจนถึงสะพานนวรัฐ

จุลกฐิน
หลังจากผ่านเทศกาลออกพรรษาแล้วยังมีกฐินที่เรียกว่า จุลกฐิน หรือที่คนโบราณเรียกว่า “กฐินแล่น” ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ใช่ถึงเวลาก็สามารถไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะร่วมจุลกฐินแล้ว ต้องเตรียมตัวก่อนเข้าพรรษาด้วยซ้ำไป โดยเริ่มตั้งแต่ ปลูกฝ้าย ดูแลรักษาให้งอกงามจนต้นฝ้ายโตแตกเป็นปุย พอดีเมื่อถึงเวลาทอดกฐิน
สาวพรหมจรรย์ 6 นาง นุ่งขาว ห่มขาว ฟ้อนรำจากวิหารออกไปสู่ไร่ฝ้าย เพื่อเก็บมาให้ชาวบ้านช่วยกันดีดฝ้ายจนฟู นำมาปั่นเป็นหลอดเป็นเส้นใย แล้วทอย้อมสีให้เสร็จ ผึ่งแดดให้แห้ง รีดให้เรียบเพียงชั่วข้ามคืน
ตอนบ่ายตั้งขบวนด้วยความเริงรื่น ปลื้มใจที่ถวายกฐินเสร็จ จากนั้นแห่ผ่านทุ่งนา ด้วยกลองสะบัดชัย ตามด้วยการฟ้อนเจิง ศิลปะเก่าแก่ของพ่อเฒ่า มาถวายที่วัดยางหลวง วัดเก่าแก่ของ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม

ชมภาพงานจุลกฐิน คลิก

ประเพณีเข้าอินทขิล เสาอินทขิลเป็นเสาหลักเมืองของเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง  ชาวเชียงใหม่จะร่วมกันประกอบพิธีบูชาเสาหลักเมืองอินทขีลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8  เรียกว่า " วันเข้าอินทขิล " เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมืองและเป็นการสมโภชเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข  ในวันดังกล่าวจะมีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่า หรือพระพุทธรูปคันธารราษฎร์ ไปรอบตัวเวียงเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและใส่ขันตอกก่อนนำไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง  ภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชาอินทขิล เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีจะมีมหรสพสมโภชตลอดคืน
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ภาคกลาง ในงานจะมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกจากโกศห้าชั้นไปใส่ในโกศใบใหม่แล้วอัญเชิญขึ้นคานทองหามไปรออยู่หน้าวิหาร เมื่อถึงขบวนแห่จะมีพระสงฆ์เดินนำหน้าแห่พระบรมสารีริกธาตุไปยังพระอุโบสถเพื่อบูชาข้าวปลาอาหาร  ระหว่างที่แห่ไปนั้นสองข้างทางจะแน่นไปด้วยผู้คนโปรยข้าวตอกดอกไม้ใส่พระบรมสารีริกธาตุ จากนั้นจะมีการสรงน้ำที่ห้องสรงน้ำ สำหรับน้ำที่ทรงพระบรมสารีริกธาตุนั้นชาวบ้านเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จึงนำกลับบ้านไปเพื่อความเป็นสิริมงคล
งานร่มบ่อสร้าง
จัดขึ้นประมาณเดือนมกราคมของทุกปี ที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง มีการแสดงการทำร่มด้วยกระดาษสา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม การรำแบบล้านนา ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน และมีการประกวดสาวงามกางจ้อง หรือกางร่มนั่นเอง
งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ ในงานจัดให้มีการประกวดสวนหย่อมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ และนางงามบุปผชาติ แห่จากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ ผ่านสะพานนวรัฐ ผ่านไปตามเส้นทางถนนท่าแพไปสู่สวนสาธารณะหนองบวกหาด โดยขบวนแห่จะมาจากทั่วทุกอำเภอ รถขบวนแห่ประดับประดาไปด้วยดอกไม้ที่สวยงามมาก สาวงามที่นั่งเป็นตุ๊กตาประจำรถแต่ละคันก็สวยงามเป็นยิ่งนัก
งานฤดูหนาว
งานนี้ไม่ใช่ประเพณี แต่เป็นมหกรรมหรือเทศกาลเพราะจัดขึ้นเป็นทุกปีในช่วงฤดูหนาวช่วงเทศกาลปีใหม่  ในงานมีการจัดงานจำหน่ายสินค้า มีการประกวดนางงามฤดูหนาว โดยจะมีสาวงามของทุกอำเภอส่งเข้าประกวด สาวงามที่ประกวดจะใส่ชุดพื้นเมืองของชาวล้านนาสวยงามมาก ไม่ใช่ใส่กางเกงในเดินโชว์บนเวทีเหมือนอย่างที่เคยเห็นในหลายการประกวด  นอกจากนี้ยังการแสดงรำแบบล้านนาด้วย
 

ท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ เฉพาะในกลุ่มของท่านเอง  8 -16 ท่าน  กำหนดวันเดินทางตามความสะดวกของท่าน

Copyright © Tourdoi.com All Rights Reserved.