หน้าแรก   โปรแกรมทัวร์   ภาพท่องเที่ยว   ข้อมูลท่องเที่ยว   โรงแรมทั่วไทย   ท่องเที่ยวธรรมชาติ   เวบบอร์ด   อุทยานแห่งชาติ   แผนที่ทั่วไทย   ติดต่อเรา

<- กลับหน้าแรก รวมเขื่อน

ท่องเที่ยวเขื่อนทั่วไทยกับ...ทัวร์ดอย.คอม

 

ข้อมูลเขื่อนทั่วไทย

เขื่อนภาคเหนือ

เขื่อนภาคกลาง

เขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขื่อนภาคใต้

 

 

เขื่อนสิรินธร

คลิกเพื่อขยาย 186kb

สถานที่ตั้ง : อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะเขื่อน  เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว ตัวเขื่อนมีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑,๙๖๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิไฟฟ้าจำนวน ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขา ของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนาม เขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” สร้างเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

 

 

ภาพถ่ายบริเวณสันเขื่อน จุดปล่อยน้ำ

ประโยชน์

เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกประสงค์จึงสามารถอำนวยประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนา ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้

การผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้พลังน้ำมาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยาย ขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกไปได้กว้างขวางขึ้น

การชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๒,๐๐๐ ไร่

บรรเทาอุทกภัย เขื่อนสิรินธรสามารถกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามแม่น้ำลำโดมน้อยไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วม

การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ทำให้ราษฎรมีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น

การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขาย และคมนาคมขนส่งผลผลิต ออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่นของภายในบริเวณเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและพักผ่อนหล่อนใจเป็นจำนวนมาก

การเดินทาง

เขื่อนสิรินธร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตรการเดินทางโดยรถยนต์ใช้เส้นทาง ไปตามถนนสายมิตรภาพประมาณ ๗๓๗ กิโลเมตร มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ เข้าสู่อำเภอ พิบูลมังสาหาร จากนั้นไปตามเส้นทางพิบูลมังสาหาร-ช่องเม็กเข้าสู่เขื่อนสิรินธร 

ติดต่อสอบถาม

สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ได้ที่หน่วย ธุรการและบริการเขื่อนสิรินธร โทร.๒๗๐๗ (สายภายใน) หรือโทร. (๐๔๕)๓๖๖๐๘๑

........................................................................................................................................................
Photo Gallery    ไม่มีภาพ     ขอเชิญเป็นส่วนร่วม เผยแพร่ความสวยงามในท้องถิ่น  ส่งภาพลงใน Gallery ได้ที่นี่ครับ  กรุณาระบุชื่อผู้ถ่าย - สถานที่ ขอบคุณครับ 


ไม่มีภาพครับ


ไม่มีภาพครับ


ไม่มีภาพครับ


ไม่มีภาพครับ


ไม่มีภาพครับ


ภาพไม่มีภาพครับ

 

ท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ เฉพาะในกลุ่มของท่านเอง  8 -16 ท่าน  กำหนดวันเดินทางตามความสะดวกของท่าน

Copyright © 2005 Tourdoi.com All Rights Reserved.