ทัวร์ ทัวร์ดอย

ดอกไม้ป่า

หน้าแรก   โปรแกรมทัวร์   ภาพท่องเที่ยว   ข้อมูลท่องเที่ยว   โรงแรมทั่วไทย   ท่องเที่ยวธรรมชาติ   เวบบอร์ด   อุทยานแห่งชาติ   แผนที่ทั่วไทย   ติดต่อเรา

<- กลับหน้าแรก รวมเขื่อน

เขื่อนในประเทศไทย

ข้อมูลเขื่อนทั่วไทย

เขื่อนภาคเหนือ

เขื่อนภาคกลาง

เขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขื่อนภาคใต้

 

 

เขื่อนวชิราลงกรณ์

คลิกเพื่อขยาย

สถานที่ตั้ง : อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะเขื่อน  เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย เททับหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เขื่อนสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร มีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนเอนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอท้องผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,720 ตารางกิโลเมตร

เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2522 เสร็จในปี 2527 แต่เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม หลังสร้างเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2529 และพระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนวชิราลงกรณ 

ภาพถ่ายบริเวณสันเขื่อน จุดปล่อยน้ำ

ประโยชน์

ด้านพลังงาน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

บรรเทาอุทกภัย โดยปกติน้ำในฤดูฝน ทั้งในลำน้ำแควน้อย และแควใหญ่จะมีปริมาณมาก เมื่อไหลมารวมกันจะทำให้เกิดน้ำท่วม ลุ่มแม่น้ำแม่กลองเป็นประจำ หลังจากได้ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำของเขื่อนทั้งสองจะช่วยเก็บกักไว้ เป็นการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถาวร

ด้านการชลประทานและการเกษตร ทำให้มีแหล่งน้ำถาวรเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อช่วยเสริมระบบชลประทาน ในพื้นที่ของโครงการแม่กลองใหญ่ โดยเฉพาะทำการเพาะปลูกในฤดูแล้ง จะได้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น

ด้านการประมง อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเหมาะสำหรับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

รักษาคุณภาพน้ำแม่กลอง  ต้านน้ำเค็มและน้ำเสียในฤดูแล้ง รวมทั้งยังมีน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมของสองฝั่งแม่กลองอีกส่วนหนึ่ง และจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่มขึ้นในฤดูแล้งจะช่วยขับไล่น้ำเสียและผลักดันน้ำเค็มทำให้สภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลองมีคุณภาพดีขึ้น

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนวชิราลงกรณยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมกันเป็นจำนวนมาก

การเดินทาง

เขื่อนวชิราลงกรณ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 278 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ใช้เส้นทางถนนสายเพชรเกษมหรือสายพุทธมณฑล เข้าสู่จังหวัด กาญจนบุรี แล้วเดินทางต่อไปตามทางหลวงหมายเลข 323 มุ่งสู่อำเภอทองผาภูมิ เป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอทองผาภูมิ จากทองผาภูมิไปยังเขื่อนอีกประมาณ 20 กิโลเมตร มีป้ายบอกชัดเจน

หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี หรือโดยรถไฟสายท่องเที่ยวจากสถานี รถไฟบางกอกน้อย ก็สามารถต่อรถโดยสารประจำทางที่ท่ารถในอำเภอเมือง มาลงปลายที่ทองผาภูมิ แล้วจ้างเหมารถยนต์รับจ้างให้พาเที่ยวชมเขื่อนและสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

ติดต่อสอบถาม

ผู้สนใจจะเยี่ยมชมหรือพักแรมที่เขื่อนศรีนครนิทร์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เจ้าหน้าที่ บ้านพักรับรองเขื่อนศรีนครินทร์ โทร. 034-513001-2 ต่อ 2455

เขื่อนวชิราลงกรณ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ซึ่งทางเขื่อนมี เจ้าหน้าที่บริการ และรักษาความปลอดภัยคอยต้อนรับ และอำนวยความสะดวกแก่ทุกท่าน รวมทั้งมีสิ่ง อำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น บ้านพัก ร้านอาหาร ห้องประชุม และสนามกีฬาต่างๆ ตลอดจนจัดเรือล่องชม อ่างเก็บน้ำไว้บริการด้วย

........................................................................................................................................................
Photo Gallery     ขอเชิญเป็นส่วนร่วม เผยแพร่ความสวยงามในท้องถิ่น  ส่งภาพลงใน Gallery ได้ที่นี่  กรุณาระบุชื่อผู้ถ่าย - สถานที่ ขอบคุณครับ 


อ่างเก็บน้ำ  มองจากสันเขื่อน


ลิงป่าลงมาหากินบนสันเขื่อน


โรงไฟฟ้า


ตัวเขื่อน


นักท่องเที่ยวบนสันเขื่อน


คลิกส่งภาพ