ทัวร์ ทัวร์ดอย

ดอกไม้ป่า

หน้าแรก   โปรแกรมทัวร์   ภาพท่องเที่ยว   ข้อมูลท่องเที่ยว   โรงแรมทั่วไทย   ท่องเที่ยวธรรมชาติ   เวบบอร์ด   อุทยานแห่งชาติ   แผนที่ทั่วไทย   ติดต่อเรา

<- กลับหน้าแรก รวมเขื่อน

เขื่อนในประเทศไทย เขื่อนสิริกิตต์

 

ข้อมูลเขื่อนทั่วไทย

เขื่อนภาคเหนือ

เขื่อนภาคกลาง

เขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขื่อนภาคใต้

 

 

เขื่อนสิริกิติ์

คลิกเพื่อขยาย

สถานที่ตั้ง : อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ลักษณะเขื่อน  เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว  สันเขื่อนสูง 133.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บ กักน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สามรองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,391 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,255 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ก่อสร้างโดยกรมชลประทานโดยมีวัตถุประสงค์ด้านชลประทานเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และ โรงไฟฟ้าเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520 

ภาพถ่ายบริเวณสันเขื่อน จุดปล่อยน้ำ

ประโยชน์

การชลประทาน น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน กับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน

การบรรเทาอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจจะไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัย ในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร

การผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง ๔ เครื่อง ให้พลังไฟฟ้า ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น

การประมง กฟผ. ได้นำพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ กลายเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ ช่วยเสริมรายได้ให้กับราษฎรบริเวณนั้น

การคมนาคมทางน้ำ ช่วยให้การคมนาคมทางน้ำ บริเวณเหนือเขื่อนไปยังจังหวัดน่าน สะดวก และใช้งานได้ตลอดปี

การท่องเที่ยว เขื่อนสิริกิติ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของ บรรยากาศ เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย

การเดินทาง  
จังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 491 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 7 ชั่วโมง ตามเส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ และจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 ถึงเขื่อนสิริกิติ์ อีก 58 กิโลเมตร

ทัศนียภาพบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน

Photo Gallery    ขอเชิญเป็นส่วนร่วม เผยแพร่ความสวยงามในท้องถิ่น  ส่งภาพลงใน Gallery ได้ที่นี่ครับ  กรุณาระบุชื่อผู้ถ่าย - สถานที่ ขอบคุณครับ 


อ่างน้ำในหุบเขา


ชาวบ้านหาปลาในอ่าง


วิวในอ่างเก็บน้ำ


หมู่บ้านประมงปากนาย


นั่งเรือชมวิว


ปลาในอ่างเก็บน้ำ

   

Copyright © 2005 Tourdoi.com All Rights Reserved.