ชื่ออื่นๆ
: มันชูรัน
หัววุ้น บุกรอ
กระแท่ง ลอกใหญ่ อีผุก
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Amorphophallus sp.
ลักษณะ
:
เป็นไม้มีหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน
มีใบโผล่ขึ้นจากดิน
ก้านใบกลมอวบอ้วนสีเขียวอ่อน
โคนมีสีเขียวเข้ม สูง
0.5-2 เมตร
ดอกมี
2 แบบ
แบบที่มีชื่อดอกชูสูงขึ้นจากพื้น
และดอกที่ออกบริเวณผิวดินซึ่งไม่มีก้านดอก
ลักษณะดอกมีเกสรเป็นหลอดปลายเรียวอยู่ตรงกลาง
จานรองดอกห่ออยู่ด้านล่างของหลอดเกสร
จานรองดอกมีหลายรูปแบบ
บางต้นมีรองจานดอกสูงเท่าคน
ช่วงเวลาออกดอก
เมษายน - กรกฎาคม
แหล่งที่พบ
: พบทั่วไปในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาค
ประโยชน์
ใบอ่อนที่ยังไม่บานสามารถนำไปแกงส้มได้
ทานอร่อย หัวขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินใช้ทำอาหาร
แกง
หรือทำไอครีมรสบุก
และขนมหม้อแกงบุก
นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยลดความอ้วนอีกด้วย
ดอกนี้ถ่ายที่
ทางเดินไปถ้ำลำคลองงู
กาญจนบุรี เม.ย.
|